ต้นยูคาลิปตัส




ชื่อพฤกษศาสตร์ Eucalyptus
วงศ์ MYRTACEAE
ชื่อพื้นเมือง โกฐจุฬารส น้ำมันเขียว มันเขียว
ลักษณะทางนิเวศวิทยา (การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ) ไม้ยืนต้น สูงประมาณ 10-25 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มหนาทึบ ค่อนข้างกลม ลำต้นเปลาตรง เปลือก เปลือกหุ้มลำต้น มีลักษณะเรียบเป็นมัน 
ชนิดป่าที่พบ ทุกที่ทั่วไป
ลักษณะทางวนวัฒนวิทยา
 - ลำต้น / ลักษณะเนื้อไม้

 - ใบ
- ดอก
- ผล
ไม้ยืนต้น สูงประมาณ 10-25 เมตรค่อนข้างเรียบ 
- ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับเป็นคู่ ใบห้อยลง ลักษณะของใบเป็นรูปหอก ปลายใบแหลม ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2-7 เซนติเมตรและยาวประมาณ 12-30 เซนติเมตร แผ่นใบหนาเป็นสีเขียวอมสีน้ำเงิน มีผงคล้ายแป้งปกคลุม เส้นใบ- 



ผลมีลักษณะเป็นรูปครึ่งวงกลมหรือคล้ายรูปถ้วย ปลายผลแหลม ผลอ่อนเป็นสีเขียว และจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อแก่ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.8-2 เซนติเมตร เปลือกผลหนา มีรอยเส้นสี่เหลี่ยม 4 เส้น
การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์ได้เองตามธรรมชาติ
ช่วงเวลาออกดอก-ผล ออกดอกและติดผลราวเดือน ธันวาคม-มิถุนายน
การใช้ประโยชน์และความสำคัญ -ใบและเปลือกรากมีรสขมเผ็ด กลิ่นหอม เป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อปอด ลำไส้ และทางเดินปัสสาวะ ใช้ใบเป็นยาแก้ไข้ ไข้หวัดติดเชื้อ ไข้หวัดใหญ่ 
-ใช้เป็นยาแก้ไอ ด้วยการใช้น้ำมันที่กลั่นได้จากใบสด 0.5 มิลลิเมตร (ประมาณ 8 หยด) นำมารับประทานหรือทำเป็นยาอม
แหล่งอ้างอิง หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย.  “ยูคาลิปตัส”.  (วิทยา บุญวรพัฒน์).  หน้า 468.

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม