ต้นพยูง
ชื่อพฤกษศาสตร์ Siamese Rosewood
วงศ์ FABOIDEAE
ชื่อพื้นเมือง ประดู่เสน (ตราด), ขะยูง (อุบลราชธานี), ประดู่ตม (จันทบุรี), แดงจีน (ปราจีนบุรี), พะยูงไหม (สระบุรี), ประดู่ลาย (ชลบุรี), พยุง พะยูง (ทั่วไป), กระยง กระยูง (เขมร-สุรินทร์), หัวลีเมาะ (จีน) เป็นต้น
ลักษณะทางนิเวศวิทยา (การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ) จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบช่วงสั้น ๆ มีลักษณะคล้ายกับต้นประดู่ โดยมีความสูงของต้นได้ถึง 25 เมตร เมื่อโตเต็มที่ลำต้นจะมีลักษณะเปลาตรง มีเรือนยอดเป็นรูปทรงกลมหรือรูปไข่ทึบ เปลือกต้นเรียบเป็นสีเทา และล่อนเป็นแผ่นบาง ๆ ส่วนเปลือกด้านในเป็นสีน้ำตาลแกมสีเหลือง เนื้อไม้เป็นสีแดงอมม่วงถึงแดงเลือดหมูแก่ เนื้อละเอียด มีความแข็งแรงทนทาน มีแก่นหอมร้อนและมีรสขมฝาดเล็กน้อย การขยายพันธุ์ที่นิยมทำกันก็คือ การนำเมล็ดมาเพาะให้เป็นต้นกล้า ซึ่งเป็นวิธีที่สะดวกและนิยมกันมาก สำหรับวิธีการขยายพันธุ์โดยวิธีอื่น ๆ ก็สามารถทำได้โดยการนำเหง้ามาปักชำ สามารถขึ้นได้ในดินทุกชนิด ทนแล้งได้ดี ต้นพะยูงเป็นพันธุ์ไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศเมียนมา ลาว กัมพูชา และเวียดนาม ในประเทศไทยพบขึ้นกระจัดกระจายทั่วไปตามป่าเบญจพรรณชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าราบ ป่าโปร่ง และขึ้นประปรายทั่วไปทางภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในพื้นที่ที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 100-300 เมตร
ชนิดป่าที่พบ อยู่ในบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผลกระท้อนมีสีสะดุดตา เป็นต้นไม้ที่ทนแล้งได้ดี
ลักษณะทางวนวัฒนวิทยา
- ลำต้น / ลักษณะเนื้อไม้
- ใบ
- ดอก
- ผล
ใบเป็นใบประกอบ ออกเป็นช่อแบบขนนกปลายคี่ ช่อติดเรียงสลับกัน ยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร ใบและช่อจะใบย่อยมีลักษณะเป็นรูปรีแกมรูปไข่ ติดเรียงสลับประมาณ 7-9 ใบ ปลายสุดของช่อใบเป็นใบเดี่ยว ลักษณะของใบเป็นรูปไข่แกมรูปขอบขนาน รูปไข่ หรือรูปใบหอก ปลายใบแหลมยื่นเล็กน้อย โคนใบมนกว้าง แล้วค่อย ๆ เรียวสอบแหลมไปทางปลายใบ
ดอกออกรวมกันเป็นช่อแยกแขนง ตามปลายกิ่งหรือตามง่ามใบใกล้กับปลายยอด ช่อดอกตั้งขึ้น ยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร ดอกมีขนาดเล็ก ลักษณะของกลีบดอกเป็นรูปดอกถั่วสีขาวนวล มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ดอกเมื่อบานเต็มที่จะมีขนาดกว้างประมาณ 5-8 มิลลิเมตร กลีบดอกมี 5 กลีบ ส่วนกลีบฐานดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วยตื้น ๆ
ออกผลเป็นฝัก ลักษณะของฝักเป็นรูปขอบขนาน แบนและบอบบาง มีขนาดกว้างประมาณ 1.2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร ผิวฝักเกลี้ยง ตรงกลางมีกระเปาะหุ้มเมล็ด บริเวณที่หุ้มเมล็ดจะมองเห็นเส้นแขนงไม่ชัดเจน ฝักจะแก่ประมาณ 2 เดือนหลังการออกดอก ซึ่งจะอยู่ในช่วงประมาณเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน
การขยายพันธุ์ การขยายพันธุ์ไม้พะยูงที่มีการปฏิบัติกันคือ การนำเมล็ดมาเพาะให้เป็นต้นกล้า ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่สะดวกและนิยมใช้กันมาก สำหรับวิธีการขยายพันธุ์โดยวิธีอื่น ๆ ที่สามารถทำได้คือการนำเหง้ามาปักชำวิธีเพาะเมล็ด เนื่องจากเมล็ดพะยูงมีความงันที่เปลือกอยู่บ้าง ดังนั้นเพื่อให้การงอกสม่ำเสมอ ควรขจัดความงันของเมล็ดออกด้วยการปฏิบัติเมล็ดก่อนเพาะ ซึ่งสามารถทำได้โดยนำเมล็ดมาแช่ในน้ำเย็นเป็นเวลา 24 ซม. แล้วนำไปเพาะในกระบะทราย กลบเมล็ดด้วยทรายบาง ๆ รดน้ำสม่ำเสมอแต่อย่าให้แฉะ เมล็ดจะงอกภายใน 7 วัน เมื่องอกได้ 10-14 วัน ก็นำกล้าย้ายลงถุงเพาะ 4x6 นิ้ว เจาะรู 8-12 รู โดยมีส่วนผสมดินเพาะชำที่เหมาะสมคือ ดินตะกอนริมห้วย : ทราย : ขี้เถ้า : แกลบ : ปุ๋ยหมัก = 5 : 2 : 2 : 1 (สุคนธ์ สิมศิริ และคณะ 2531) โดยทั่วไปเมื่อเลี้ยงกล้าไว้ประมาณ 3-5 เดือน จะได้กล้าที่มีขนาดเหมาะสมต่อการย้ายปลูก และกล้าควรจะมีความสูงไม่น้อยกว่า 30 ซม. จึงย้ายไปปลูก
ช่วงเวลาออกดอก-ผล
การใช้ประโยชน์และความสำคัญ
ไม้พะยูง เนื่องจากพะยูงมีเนื้อไม้ที่มีสีสันและลวดลายสวยงามไม้พยุง จนถือได้ว่าเป็นไม้ที่มีราคาแพงที่สุดชนิดหนึ่งในตลาดโลก (แพงกว่าไม้สักหลายเท่านัก) เป็นที่ต้องการของตลาดโลก โดยเฉพาะจีน สิงคโปร์ ฮ่องกง ไต้หวัน จนนำไปสู่ปัญหาใหญ่ภายในประเทศคือการลักลอบตัดไม้พะยูงเพื่อส่งออก (เบื้องต้นอยู่ที่ราคากิโลกรัมละ 800 บาท คิวละ 2-6 แสนบาท (ในขณะที่ไม้สักคิวละประมาณ 3-5 หมื่นบาท) แต่ถ้าส่งออกจะมีราคาแพงขึ้นไปอีกหลายเท่าตัว) เพราะเนื้อไม้พะยูงเป็นไม้ที่ละเอียดเหนียว มีความแข็งแรงทนทาน และชักเงาได้ดี มีน้ำมันในตัว นิยมนำมาใช้ในการทำเครื่องเรือน เครื่องใช้ ทำสิ่งประดิษฐ์ งานแกะสลัก ไม้ถือและด้ามเครื่องมือ ที่มีคุณภาพดีและราคาแพง นอกจากนี้ยังนำมาใช้ทำส่วนต่าง ๆ ของเกวียน ทำกระบะยนต์ ด้ามหอก คันธนู หน้าไม้ กระสวยทอผ้า ใช้ทำเป็นเครื่องดนตรี เช่น ซออู้ ซอด้วง ขลุ่ย รำมะนา ลูกระนาด โทน ฯลฯ
แหล่งอ้างอิง
นิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน์. กระท้อน ใน ผลไม้ 111 ชนิด: คุณค่าอาหารและการกิน. กทม. แสงแดด. 2550หน้า 23
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น