ต้นแดง


ชื่อพฤกษศาสตร์
Xylia xylocarpa
วงศ์
 Fabaceae
ชื่อพื้นเมือง
กาตีล (เขมร ปราจีนบุรี) ขะยาง (ชาวบน นครราชสีมา) จ้อง (กะเหรี่ยง) จะเตียล (เขมร) ชันนา (ชุมพร) ทองหลัก (ละว้า) ยาง (กลาง,ตะวันออกเฉียงเหนือ) ยางกุง (เลย) ยางขาว (กลาง,ลำปาง) ยางควาย (หนองคาย) ยางตัง (ชุมพร,ใต้) ยางเนิน (จันทบุรี) ยางแม่น้ำ (กลาง) ยางหยวก (กลาง,หนองคาย) ราลอย (ส่วย สุรินทร์) และ ลอยด์ (โซ่ นครพนม


ลักษณะทางนิเวศวิทยา (การกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ)
                           

  เป็นไม้ที่ชอบขึ้นในป่าเต็งรัง, ป่าเบญจพรรณ และป่าสัก กระจายพันธุ์ในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยขึ้นได้ทั่วทุกภาค ลำต้นค่อนข้างเปล่า ตรง หรือเป็นปุ่มปม เรือนยอดรูปทรงกลม หรือเก้งก้าง ไม่ค่อยแน่นอน สีเขียวอมแดง เปลือกเรียบสีเทาอมแดง ตกสะเก็ดออกเป็นแผ่นกลมบาง ๆ รอบลำต้น



ชนิดป่าที่พบ






ลักษณะทางวนวัฒนวิทยา
 - ลำต้น / ลักษณะเนื้อไม้

 - ใบ


- ดอก



- ผล


สีเขียวอมแดง เปลือกเรียบสีเทาอมแดง ตกสะเก็ดออกเป็นแผ่นกลมบาง ๆ รอบลำต้น เมื่อสับเปลือกทิ้งไว้จะได้ชันสีแดง
เป็นช่อแบบขนนกสองชั้น ก้านใบยาว 2–7 เซนติเมตร ช่อใบยาว 10–22 เซนติเมตร แต่ละช่อมีใบย่อย 4–5 คู่
สีเหลือง ขนาดเล็ก ขึ้นอัดกันแน่นบนช่อกลมเดี่ยว ๆ หรือแตกกิ่งก้าน หรือขึ้นเป็นกลุ่ม ๆ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง แต่ละช่อประมาณ 1.4 เซนติเมตร ก้านช่อดอกยาว 2–5 เซนติเมตร

เป็นฝักแบน รูปขอบขนานเรียวและโค้งงอที่ส่วนปลาย ฝักแข็ง ยาวประมาณ 7–10 เซนติเมตร
การขยายพันธุ์
การขยายพันธุ์ไม้แดงที่ปฏิบัติกันอยู่ในปัจจุบันคือ การขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด เพราะสามารถผลิตกล้าได้เป็นจำนวนมาก สำหรับวิธีการอื่นยังไม่ได้มีการนำมาใช้ เมล็ดไม้แดงที่จะนำมาเพาะควรเป็นเมล็ดที่มีคุณภาพดี  และมีความแก่ที่สมบูรณ์เต็มที่ ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเก็บเมล็ด ควรอยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์จนถึงมีนาคม แต่ในบางปีอาจยึดออกไปถึงเดือนเมษายน การเก็บเมล็ดสามารถทำได้ทั้งการเก็บบนพื้นดิน และการปืนขึ้นไปบนต้นโดยตัดเอาฝักลงมา ฝักที่เก็บควรเป็นฝักสีน้ำตาบแดงเขียวแห้งซึ่งไม่แตกออก จะทำให้ได้เมล็ดที่ค่อนข้างสมบูรณ์ฝักที่ได้กที่ได้นำมาตากแคดจนฝักแตออก ทำการเก็บเมล็ดออกจากฝัก
ช่วงเวลาออกดอก-ผล
ออกดอกระหว่างเดือนมีนาคม-เดือนพฤษภาคม
การใช้ประโยชน์และความสำคัญ
เนื้อไม้  ไม้แดงเป็นไม้ที่มีความทนทานตามธรรมชาติเกินกว่า 10 ปี คือตั้งแต่ 10 - 18 ปี เฉลี่ยประมาณ 15.9 ปี (สมาคมป่าไม้แห่งประเทศไทย, 2526) เนื้อไม้ค่อมข้างแข็งแรง ทนทานต่อการกระแทกสูง การใช้ประโยชน์เนื้อไม้จึงใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน เช่น ใช้ทำเสา รอดตง ขื่อ กระดานพื้น ไม้ปาร์เก้ ฝา ฯลฯ ได้แข็งแรงและทนทานดี ทำเรือข้างกระดาน เรือใบ เรือสำเภา คันไถ คราด ครก สาก กระเดื่อง ทำลูกหีบ ฟันสีขาว ส่วนต่างๆของเกวียน ทำสะพาน หมอน รางรถไฟ ด้ามเครื่องมือ ทำหูกและกระสวย ไม้คาน ด้ามหอก ไม้สำหรับกลึง แกะสลัก เครื่องเรือนและไม้บุผนังที่สวยงาม ส่วนฝักที่แห้งนำมาเผาถ่านได้
สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, พ.ศ. 2549

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม